ลำดับที่ 91. “เข้าหมู่แฮ้งเป๋นแฮ้ง เข้าหมู่ก๋าเป๋นก๋า”
อ่าน (-เข้า-หมู่-แฮ้ง-เป๋น-แฮ้ง///เข้า-หมู่-ก๋า-เป๋น-ก๋า-)
หมายถึง......การทำตัวให้เข้ากับผู้คนในสังคมที่ตนเองอยู่ได้ เพื่อได้รับการยอมรับจากผู้อื่น
กำบ่าเก่าจึงว่า “เข้าหมู่แฮ้งเป๋นแฮ้ง เข้าหมู่ก๋าเป๋นก๋า”
การนำไปใช้ ประพฤติตนเข้ากับสังคม
เทียบสำนวน สุภาษิต คำพังเพย ไทยกลาง “เข้าเมืองตาหลิ่วต้องหลิ่วตาตาม”
เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง “เข้าฝูงแร้งเป็นแร้ง เข้าฝูงกาเป็นกา”
ลำดับที่ 92. “ข้าวจะเสี้ยงเพราะกิ๋นหวาน คนจะผลาญเพราะนอนอุ่น”
อ่าน (-ข้าว-จะ-เสี้ยง-เพราะ-กิ๋น-หวาน///คน-จะ-ผาน-เพราะ-นอน-อุ่น-)
หมายถึง.....คนขี้เกียจไม่ช่วยกันทำมาหากินเพื่อครอบครัว มีความสุขกับการกินการนอน
กำบ่าเก่าจึงว่า “ข้าวจะเสี้ยงเพราะกิ๋นหวาน คนจะผลาญเพราะนอนอุ่น”
การนำไปใช้ ช่วยกันทำงานเพื่อครอบครัว
เทียบสำนวน สุภาษิต คำพังเพย ไทยกลาง “กินล้างกินผลาญ”
เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง “ข้าวจะหมดเพราะทานอร่อย คนจะผลาญเพราะนอนอุ่น”
ลำดับที่ 93. “แขนตั๋วสั้น จะไปอุ้มไหใหญ่” อ่าน (-แขน-ตั๋ว-สั้น///จะ-ไป-อุ้ม-ไห-ใหย่-)
หมายถึง....อย่าทำในสิ่งที่เกินความสามารถของตนเอง
กำบ่าเก่าจึงว่า “แขนตั๋วสั้น จะไปอุ้มไหใหญ่”
การนำไปใช้ รู้ประมาณตน อย่าทำอะไรเกินตัว
เทียบสำนวน สุภาษิต คำพังเพย ไทยกลาง “ไม่ดูเงาหัว”
เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง “แขนตนสั้นอย่าอุ้มไหใบโต”
ลำดับที่ 94. “ข้าวลีบงวงตั้ง ข้าวเต้งงวงก๊อม”
อ่าน (-ข้าว-ลีบ-งวง-ตั้ง///ข้าว-เต้ง-งวง-ก๊อม-)
หมายถึง.....คนโง่มักจะเย่อหยิ่ง จองหอง คนฉลาดจะนอบน้อมถ่อมตน
กำบ่าเก่าจึงว่า “ข้าวลีบงวงตั้ง ข้าวเต้งงวงก๊อม”
การนำไปใช้ ควรนอบน้อมถ่อมตน
เทียบสำนวน สุภาษิต คำพังเพย ไทยกลาง “เป็นผู้น้อยค่อยก้มประนมกร///ความขยัน ประหยัด อตทน นอบน้อมถ่อมตน จะทำให้คนประสบความสำเร็จ”
เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง “ข้าวลีบงวงตั้ง ข้าวเต่งงวงค้อม”
ลำดับที่ 95. “ข้าดีต้านบ่ขาย” อ่าน (-ข้า-ดี-ต้าน-บ่อ-ขาย-)
หมายถึง.....คนประพฤติตนดี มีความกตัญญู ย่อมเป็นที่รักของผู้อื่น
กำบ่าเก่าจึงว่า “ข้าดีต้านบ่ขาย”
การนำไปใช้ ให้ยึดมั่นในการทำดี เป็นเด็กควรทำตัวน่ารัก ไม่เกเร จะได้เป็นที่รักของผู้คนทั่วไป ในสมัยก่อนข้าทาสที่มีความจงรักภักดี เจ้านายจะไม่นำไปขายต่อ จะเมตตาเลี้ยงไว้
เทียบสำนวน สุภาษิต คำพังเพย ไทยกลาง “ค่าของคนอยู่ที่ผลของงาน ”
เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง “ข้าทาสดีท่านไม่ขาย”
ลำดับที่ 96. “ข้าเก่าเต่าฮ้าย เสือควายมีเขา จักเข็บแมงเวา เลี้ยงไว้บ่ได้ จายคาเฮือน
กับแคร่ขี้ใต้ บ่ดีควรร่วมชิด”
อ่าน (-ข้า-เก่า-เต่า-ฮ้าย///เสือ-ควาย-มี-เขา//จัก-เข็บ-แมง-เวา///เลี้ยง-ไว้-บ่อ-ได้///จาย-คา-
เฮือน///กับ-แค่-ขี้-ไต้///บ่อ-ดี-ควน-ร่วม-ชิด-)
หมายถึง......ข้าทาสบริวารในบ้าน หรือสัตว์มีเขี้ยวมีงา สัตว์มีพิษ ไม่ควรให้ความไว้วางใจ
กำบ่าเก่าจึงว่า “ข้าเก่าเต่าฮ้าย เสือควายมีเขา จักเข็บแมงเวา เลี้ยงไว้บ่ได้ จายคาเฮือน กับแคร่ขี้ใต้ บ่ดีควรร่วมชิด”
การนำไปใช้ ระวังอันตรายที่จะเกิดจากการไว้วางใจผู้ใกล้ชิดหรือไม่ระวังสัตว์ร้าย สัตว์มีพิษ
เทียบสำนวน สุภาษิต คำพังเพย ไทยกลาง “ช้างสาร งูเห่า ข้าเก่า เมียรัก”
เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง “ข้าทาสที่อยู่มานาน เสือ ควาย ตะขาบ แมงป่อง ให้ระวังอันตราย อีกทั้งชายคา(สมัยก่อนบ้านเรือนมุงด้วยหญ้าคา)กับไม้แคร่ติดไฟอย่าได้นำมาใกล้กัน”
ลำดับที่ 97. “ข้าวลีบมันตึงบ่งอก” อ่าน (-ข้าว-ลีบ-มัน-ตึง-บ่อ-งอก-)
หมายถึง.....คนขี้เกียจสันหลังยาวแม้จะได้รับการสนับสนุนอย่างไรก็ไม่เจริญก้าวหน้า
กำบ่าเก่าจึงว่า “ข้าวลีบมันตึงบ่งอก”
การนำไปใช้ อย่าขี้เกียจต้องขวานขวายหาความรู้ ทดแทนคุณบิดามารดา
เทียบสำนวน สุภาษิต คำพังเพย ไทยกลาง “ขุนไม่ขึ้น///ไม่เอาถ่าน”
เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง “ข้าวลีบยังไงก็ไม่งอก”
ลำดับที่ 98. “ข้าวสุกไหนไป ไฟลุกไหนแล่น บ่ดี”
อ่าน (-ข้าว-สุก-ไหน-ไป///ไฟ-ลุก-ไหน-แล่น///บ่อ-ดี-)
หมายถึง.....คนเห็นแก่ตัว เห็นแก่ได้ เห็นแก่กิน
นแกหัเห็นยแก่ได้ เห็นแก่กินเกำบ่าเก่าจึงว่า “ข้าวสุกไหนไป ไฟลุกไหนแล่น บ่ดี”
การนำไปใช้ ควรทำตนเหมาะสมอย่าให้ผู้อื่นดูถูกเหยียดหยาม เพราะเห็นแก่ได้ เห็นแก่กิน
เทียบสำนวน สุภาษิต คำพังเพย ไทยกลาง “เห็นแก่กิน”
เทียบเคียงกำบ่าเก่า-คำไทยกลาง “ข้าวสุกที่ไหนไป เขาก่อไฟรีบไปรอ ไม่ดี”