4. การประหยัดและอดออม
มีความสำคัญต่อชีวิตเรามาก ถือเป็นรากฐานที่สำคัญยิ่งที่จะทำให้เราประสบความสำเร็จในชีวิตได้ จากการสังเกตผู้คนรอบข้างเราหรือจากการอ่านการค้นคว้าวิจัย พบว่าผู้ที่พบความสำเร็จในชีวิตได้ มีชื่อเสียงและร่ำรวยทุกๆส่วนของโลกที่ประสบความสำเร็จ ล้วนมีคุณลักษณะนิสัยการประหยัดและอดออมอยู่ โดยประหยัดอดออมทั้งเวลา เงินทองและทรัพยากร ทำให้เขาเหล่านั้นพบความสำเร็จได้ แม้รอบข้างคนไทยเราจะพบคนจีนที่ประสบผลสำเร็จในชีวิตเป็นส่วนใหญ่ นอกจากมุมานะอดทนแล้วยังมีการประหยัดและอดออมอยู่ด้วย ส่วนผู้ที่ล้มเหลวจะขาดคุณลักษณะเหล่านี้
การประหยัดและการออม หมายถึง การรู้จักออกทรัพย์สิน เวลา ทรัพยากร ทั้งส่วนตนและสังคม ตามความจำเป็นให้เกิดประโยชน์และคุ้มค่าที่สุด รวมทั้งการรู้จักดำรงชีวิตให้เหมาะสมกับฐานะความเป็นอยู่ส่วนตนและสังคม
การประหยัดและออม ระดับมัธยมนั้นต้องการมุ่งเน้นให้นักเรียนรู้จัดใช้เวลา และทรัพย์สินอย่างเหมาะสมและได้ประโยชน์มากที่สุด ดูแลรักษาทรัพย์ทั้งของตนและส่วนรวม ระมัดระวังยับยั้งความต้องการของตนให้อยู่ในขอบเขตที่พอเหมาะพอควร วางแผนการใช้จ่ายอย่างมีสัดส่วนและมีการเก็บออม
การประหยัดเวลา หมายถึง การที่นักเรียนรู้จักวางแผนการใช้เวลาของตนและใช้เวลาให้เกิดประโยชน์คุ้มค่าที่สุด ในเรื่องการใช้เวลาเกิดทางไปโรงเรียนและเดินทางกลับบ้าน การใช้เวลาในการศึกษาเล่าเรียนทำแบบฝึกหัด ทบทวนบทเรียน และหาความรู้เพิ่มเติม การใช้เวลาในการทำธุรกิจส่วนตัว การใช้เวลาในการนอนพักผ่อน และทำงานอดิเรก การใช้เวลาในการช่วยเหลืองานบ้าน ชุมชนและสังคม
รู้จักกาล คือรู้จักกาลเวลาอันเหมาะสม รู้ว่าเวลาไหนควรทำอะไร และทำให้ตรงเวลาให้เป็นเวลา ให้ทันเวลาให้เหมาะสม และให้ถูกเวลา ฯลฯ
ความเป็นผู้รู้จักกาล คือ ความรู้จัดคุณค่าของเวลา รู้จักใช้เวลา ต้องเตือนใจตนเองอยู่เสมอว่า “วันคืนล่วงไปเวลาชีวิตมีอยู่เหลือน้อยลงไปทุกที บัดนี้เราทำอะไรอยู่” ผู้ที่รู้คุณค่าของเวลาต้อมีความรู้อื่นประกอบอีกหลายอย่าง โดยเฉพาะงานและหน้าที่ และจัดงานนั้นให้เหมาะกับเวลาด้วย และควรคำนึงถึงหลักสำคัญ คือ
- งานบางอย่างต้องทำให้ทันเวลา ถ้าไม่ทันจะเสียผล
- งานบางอย่างต้องทำให้ถูกเวลา รู้จังหวะ เช่น ปลูกต้นไม้ การร่วมประชุม ฯลฯ
- งานบางอย่างต้องทำตามเวลา เช่น วันสำคัญต่าง ๆ
- งานบางอย่างต้องทำให้ตรงเวลา รักษาเวลาตามที่นัด
เมื่อเราฝึกเป็น ผู้รู้จักเวลา เป็นความสำคัญ ใช้เวลาที่มีอยู่อย่างคุ้มค่าที่สุด เราจะเป็นผู้ประสบความสำเร็จในชีวิตตามเปาหมายที่ต้องการได้
ประเภทของการจัดเวลาที่เรากระทำสิ่งต่าง ๆ แยกได้ดังนี้
- สำคัญและเร่งด่วน เป็นงานที่ต้องทำทันทีหรือในอนาคตอันใกล้ เช่นทำการบ้านส่งอาจารย์พรุ่งนี้ สอยซ่อมวันมะรืนนี้ คุณแม่ให้เฝ้าบ้านเย็นนี้เพราะท่านจะไปงานศพของญาติสนิท งานประเภทนี้ถือว่าสำคัญอันดับ 1 ต้องรีบทำไม่ควรผัดวันประกันพรุ่ง
- สำคัญแต่ไม่เร่งด่วน งานสำคัญจริง ๆ ในชีวิตเราส่วนมากไม่ใช่เรื่องรีบด่วน จะทำเดี๋ยวนี้หรือทีหลังก็ได้หรืออาจเลื่อนไปไม่มีกำหนดก็ได้ เช่น ตรวจสุขภาพ เรียนพิเศษ รายงานส่วนปลายภาค ฯลฯ ประเภทนี้สำคัญแต่ไม่เร่งด่วน สามารถเลื่อนไปได้ แต่ผัดวันประกันพรุ่งเรื่อยไปอาจเสียหาย
- เร่งด่วนแต่ไม่สำคัญ ประเภทนี้ได้แก่สิ่งต่าง ๆ ที่มีการเรียกร้องให้ลงมือทำทันที หากตรวจสอบโดยไม่ใส่ความรู้สึกส่วนตัวจะจัดลำดับเร่งด่วนไว้หลัง ๆ ได้ หากมีคนมาคอยรับคำตอบถ้าว่างอาจทำเสียเลย ถ้ามีงานอื่นเร่งด่วนกว่า ควรคิดหาวิธีปฏิเสธอย่างนิ่มนวล
- งานยุ่ง เป็นประเภทที่พอจะเป็นประโยชน์อยู่บ้างแต่ไม่เร่งด่วนหรือมีความสำคัญเลย งานพวกนี้ทำให้เรารู้สึกมีกิจกรรมและทำอะไรได้เสร็จ และทำให้มีข้ออ้างเลื่อนงานต่าง ๆ ที่สำคัญไม่เร่งด่วน (ประการ 2) ซึ่งเป็นประโยชน์มากกว่า เช่นแม่ขอให้จัดบ้านตกแต่งบ้านวันไหนก็ได้ เราก็ใช้เวลาว่างไปเล่นฟุตบอลทุกวันงานเสียเวลาเปล่า ๆ พวกนี้เราชอบที่สุด เราอยากทำ ถูกรสนิยมและไม่ยากต่อการปฏิบัติงานพวกนี้เราจะรู้สึกไม่สบายใจหลังจากทำลงไปแล้วว่าเป็นการเสียเวลาเปล่า ๆ เช่น ดูทีวี อย่าหนังสือพิมพ์ ซึ่งให้ประโยชน์แต่ก็น่าจะเอาเวลาไปทำการบ้าน ทบทวนบทเรียน
ดังนั้นจึงควรวางแผนการใช้เวลาอย่างรอบคอบพิจารณาแต่ละประเภทว่าควรจัดสรรให้ความสำคัญงานใดก่อนและหลัง การดำเนินชีวิตจำเป็นต้องมีโครงการที่แน่นอน ผู้ที่ดำเนินชีวิตโดยไม่มีโครงการนั้น มักไม่ค่อยประสบความรุ่งเรืองหรือประสบความสำเร็จ เพราะต้องเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตอยู่เสมอ ใครเขาว่าอะไรดีก็ใจรวนเรหันเตตามเขาไปเลยกลายเป็นจับจดทำอะไรไม่จริงจัง
การเปลี่ยนแปลงกิจกรรมหรืออาชีพครั้งหนึ่ง ๆ ก็เท่ากันเป็นการเริ่มต้นใหม่ถ้ามัวเรรวนจับจดอยู่ จะสร้างฐานะไม่ทันเพื่อนฝูง ชีวิตข้างหน้าจะลำบาก ชีวิตจึงต้องมีโครงการ ทางพระพุทธศาสนาสอนว่า ถ้าจะทำฮะไรก็ให้ทำจริง ๆ มีโครงการที่แน่นอนมีกำกลังใจเข้มแข็ง มีความมานะอดทนเพียงพอ มีปัญญารอบคอบ คิดถึงผลได้เสีย คิดถึงความเจริญ ความเสื่อม คิดถึงอุปสรรคและทางแก้ไข เมื่อคิดรอบคอบดีแล้ว หากจะเกิดความไม่ราบรื่น เกิดความขัดข้องขึ้นก็ต้องมีกำลังใจเข้มแข็งอดทน ต่อสู้ไม่ท้อถอยหรือหมดกำลังใจเอาง่าย ๆ การทำงานอยู่ที่กำลังใจ ถ้ากำลังใจยังเข้มแข็งอยู่แม้และเกิดอุปสรรค ก็พยายามฝ่าฝันไปจนสำเร็จ โครงการชีวิตกนั้นคงจะมีทั้งระยะยาว และควรจะกำหนดลงไปเป็นชั้น ๆ ว่าทำงานชิ้นนี้จะใช้เวลานานเท่าไรกี่ปี เมื่อชิ้นนี้สำเร็จและจะต้องทำชิ้นนั้นต่อไป
หากได้จัดสรรวิถีชีวิตให้มีระเบียบและมีโครงการที่แน่นอน ประกอบกับการดำเนินชีวิตด้วยกำลังใจที่เข้มแข็ง มีความอดทนเพียงพอดังกล่าวแล้ว เชื่อว่าคงสามารถตั้งหลักปักฐานได้โดยไม่ยากนัก
การประหยัดเงิน หมายถึง การที่นักเรียนรู้จักวางแผนการใช้จ่ายเงินใช้เงินให้เกิดประโยชน์อย่างคุ้มค่ามากที่สุด เหมาะสมกับรายการรับ และมีการเก็บออกยับยั้งความต้องการของตนเองอันมีผลทำให้ใช้เงินอยู่ในขอบเขตพอเหมาะพอควร ตัดสินใจใช้เงินโดยคำนึงถึงประโยชน์ ความคุ้มค่า ความจำเป็นของตนเองอย่างรอบคอบไม่ตระหนี่ถี่เหนี่ยวเกินไป
มนุษย์ทุกคนอยากมีชีวิตที่ดี อยากมีความสุขความต้องการของมนุษย์จึงมีทั้งสิ่งจำเป็นที่มนุษย์จะขาดเสียมิได้ เช่น อาหาร เสื้อผ้า ยารักษาโรค ที่อยู่อาศัย ฯลฯ และสิ่งไม่จำเป็น ได้แก่ เครื่องอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ความต้องการของมนุษย์มักไม่มีที่สิ้นสุด เพราะเมื่อได้อย่างหนึ่งก็มักอยากได้อีกาสิ่งหนึ่ง หรือเห็นเขามีอย่างหนึ่งก็อยากมีอย่างเขา ทรัพย์เป็นเครื่องช่วยให้บุคคลประสบความสำเร็จในชีวิต ฉะนั้นบุคคลจึงควรแสวงหาทรัพย์ในทางที่ถูกที่ควร และรู้จักใช้ทรัพย์นั้นให้เกิดประโยชน์แก่ตนเองเพื่อเป็นหลักแก่ครอบครัว
การแสวงหาทรัพย์ ต้องได้มาด้วยน้ำพักน้ำแรง ด้วยอุตสาหะหมั่นเพียรและด้วยสติปัญญา ทรัพย์นั้นจึงจะมีคุณค่ากว่าทรัพย์ที่ได้มาโดยไม่สื่อสัตย์สุจริต เช่น คดโกง หลอกลวง ฯลฯ เพราะนอกจากจะผิดกฎหมายแล้ว ยังทำความเดือดร้อนให้ผู้อื่นอีกด้วย ทรัพย์มีแต่คนสาปแช่ง
การจ่ายทรัพย์ต้องมีความพอดี พอควร คือรู้จักการประมาณรายได้กับรายจ่ายให้พอเหมาะพอควร ไม่ฟุ่มเฟือย ไม่สุรุ่ยสุร่ายจนตัวเองไม่มีเหลือหรือเก็บในอนาคตความจำเป็นกะทันหันจะเดือดร้อน การไม่รู้จักประหยัดเป็นการทำลายอนาคตของตนเองเพราะคนเขาจะมาสนใจ ไม่เชื่อถือ ทำนองมีเงินเขานับเป็นน้อง มีทองเขานับเป็นพี่ การประหยัดจึงเป็นการสร้างอนาคตให้สุขสบายภายหน้า การเก็บสะสมวันละเล็กละน้อย นานๆ จะมากเองเหมือนน้ำหยดลงตุ่มทีละหยดในที่สุดมันก็เต็ม
หลักในการประหยัดควรปฏิบัติดังนี้
1.กำหนดการใช้จ่ายอย่างมีระเบียบเหมาะสมกับรายได้ของคน จ่ายตามรายได้ ที่คนมีไม่ฟุ่มเฟือย ให้เหลือบ้าง ให้เลือกซื้อเลือกจ่าย เลือกซื้ออาหารที่ราคาไม่แพงมีประโยชน์แก่ร่างกาย งดสิ่งที่ไม่จำเป็น เช่น น้ำอัดลม ฯลฯ
2.จ่ายด้วยความรอบคอบ ซื้อแต่สิ่งที่จำเป็นต้องใช้ อย่าซื้อเพราะเอาอย่างคนอื่น อย่าซื้อเพราะเชื่อคำโฆษณา อะไรที่ควรทำได้ก็ควรทำ อย่าซื้อหรือจ้างอย่างเดียว
3.รู้จักถนอม เก็บรักษา ซ่อมแซมของใช้อย่าทิ้งขว้างให้เสียหาย ต้องรู้จักเก็บรักษาให้เป็นระเบียบให้คงทนถาวร รู้จักซ่อมแซม รู้จักดัดแปลงจะประหยัดได้มาก
4.ต้องรู้จักหารายได้เพิ่ม เพราะลำพังแต่ประหยัดเฉยๆยังไม่เพียงพอ ต้องรู้จักพึ่งตนเอง หารายได้ เช่น ระหว่างเรียนหรือในเวลาที่มีอยู่ เพื่อเป็นการยกระดับฐานะความเป็นอยู่ของตน และควรเริ่มต้นตั้งแต่วัยเด็กจะได้ฝึกนิสัยจะได้ไม่เป็นภาระแก่ผู้อื่น
5.การยืมหนี้ยืมสินเป็นทุกข์ที่สุดในโลก หนี้สินทั่วไปก็มีดอกเบี้ยชำระดอกเบี้ยและผ่อนชำระเงินต้นเป็นภาระมากขึ้นได้ จริงๆก็อาจประพฤติในทางที่ผิดก็ได้ ฉะนั้นจึงไม่ควรก่อหนี้สินเป็นอันขาด
6.หลีกเลี่ยงอบายมุขให้ได้ เพราะอบายมุขจะเป็นบ่อเกิดแห่งความฉิบหายจึงต้องห้างไกลอบายมุข หลักในการจ่ายทรัพย์ต้องมีการวางเป้าหมายว่าในเดือนหนึ่งๆ เราจะต้องใช้จ่ายอะไรบ้าง เป็นจำนวนเท่าไหร่ แล้วก็ฝึกตนเองปฏิบัติตามนั้น และมีวินัยไม่ทำอะไรตามใจ หรือใช้จ่ายเกินตัว เราจะปฏิบัติอย่างไรถ้าบังคับความอยากไม่ได้ ต้องอดกลั้น ยับยั้งชั่งใจ หรือพิสูจน์ว่าต้องการแท้จริงหรือแค่อยากได้
การประหยัดด้านสิ่งของเครื่องใช้ หมายถึง การที่นักเรียนรู้จักใช้เครื่องใช้สิ่งของทั้งของตนเองและส่วนรวมให้มีประโยชน์อย่างคุ้มค่ามากที่สุด รักษาและซ่อมแซมสิ่งของเครื่องใช้ของตนเองและส่วนรวมให้ใช้งานได้อยู่เสมอ ไม่ใช้อย่างฟุ่มเฟือยเกินความจำเป็น ด้วยความเคยชินหรือความสะดวกสบายของตน ให้ความร่วมมือในการประหยัดไฟฟ้า และน้ำประปาของส่วนรวม ดังรายการต่อไปนี้
1.การปิดเครื่องไฟฟ้าหรือเครื่องใช้ไฟฟ้าและน้ำประปาของส่วนรวมแล้วหลังจากเลิกใช้
2.การปิดก๊อกน้ำแล้วปิดไม่สนิทหรือขณะไม่มีน้ำา
3.การเอาชอล์คมาขว้างปาเล่น
4.การฉีกสมุดที่ใช้แล้วมาขีดเขียนหรือทดเลข
5.การเปิดวิทยุหรือโทรทัศน์โดยไม่มีผู้ดูหรือผู้ฟัง
6.การตักอาหารรับประทานไม่หมด
7.การรีดผ้าด้วยเตารีดทุกๆวีัน
8.การไม่รู้จักซ่อมแซมเสื้อผ้าที่ขาดมาใช้
9.การวางหนังสือไว้หน้าห้องสอบโดยไม่นำกลับบ้านเมื่อสอบเสร็จ
10การเก็บสมุดเก่ามาเย็บเล่มเพื่อใช้ประโยชน์
11.การเก็บอุปกรณ์กีฬาเมื่อเลิกเล่น
12.การซื้อเครื่องแบบชุดใหม่ในวันเปิดเทอม
13.เมื่อพบผู้อื่นขโมยหรือทำลายสิ่งของเครื่องใช่ส่วนรวม
14.การทำความสะอาดหรือเก็บข้าวของเครื่องใช้ให้เรียบร้อยหลังเลิกใช้
15.การนั่งโยกโต๊ะและเก้าอี้
16.การเข้าห้องน้ำโดยไม่ราดน้ำทำความสะอาด
ฯลฯ
การรักษาทรัพย์สมบัติ คือการคุ้มครองเก็บรักษาทรัพย์สมบัติ เครื่องใช้และผลงานทุกอย่างที่ตนหามาได้ด้วยความขยันหมั่นเพียร ไม่ให้เป็นอันตรายหรือเสื่อมสูญไป รู้จักเก็บไว้ในที่ปลอดภัย เวลาใช้รู้จักถนอม ป้องกันอันตรายที่จะเกิด รู้จักเก็บไว้ในที่ปลอดภัย เวลาใช้รู้จักถนอม รู้จักสะสมทรัพย์และทำให้เกิดผลงอกเงยขึ้นมาเป็นทวีคูณ นอกจากรู้จักรักษาทรัพย์สมบัติแล้ว ยังหมายถึงการรู้จักรักษาหน้าที่การงาน ต้องทำหน้าที่การงาน โดยไม่ปล่อยปละละเลย หรือเฉยเมยไม่ได้ แม้่เป็นนักเรียนก็มีหน้าที่ศึกษาเล่าเรียน ต้องเรียนให้มีความรู้จริงๆจนบรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้ การรักษาทรัพย์สมบัติทั้งส่วนรวม สืบเนื่องจากความขยันหมั่นเพียรประกอบอาชีพจึงเป็นผลให้มรีทรัพย์สมบัติ ถ้าไม่รักษาไว้ย่อมเก็บไว้ไม่ได้ มีแต่จะหมดไป เหมือนตุ่มรั่วตักน้ำใส่ไม่รู้จักเต็ม ถึงขยันมากขนาดไหน ถ้าไม่รู้จักเก็บรักษาแล้วก็หมดสิ้นไป ไม่มีโอกาสจะร่ำรวย ไม่มีหวังจะตั้งตัวได้
การเก็บรักษาทรัพย์สมบัติทุกอย่างตลอดจนสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆต้องเก็บไว้ให้มั่นคง ห่างไกลจากอันตรายต่างๆเช่นไฟไหม้ หรือโจรภัย ฯลฯ ปัจจุบันมีการนำไปฝากไว้ที่ธนาคารแล้วยังได้ดอกเบี้ยอีกด้วย มีคำสอนทางพระพุทธศาสนาเกี่ยวกับความมั่นคงของชีวิตครอบครัวที่ว่า “ ตระกูลอันมั่งคั่งจะตั้งอยู่นานไม่ได้เพราะเหตุ 4 ประการ คือ
1.ไม่แสวงหาสิ่งของที่หายแล้ว
2.ไม่บูรณะสิ่งของที่เก่าคร่ำคร่า
3.ไม่รู้จักประมาณในการใช้ทรัพย์สมบัติ
4.ตั้งบุคคลไร้ศีลธรรมเป็นหัวหน้าครอบครัว