คุณธรรมของหมอผู้ปรุงยา
๑. ต้องหมั่นเอาใจใส่ศึกษาวิชาแพทย์เพิ่มเติม ให้เหมาะแก่กาลสมัยและใหม่อยู่เสมอ โดยไม่เกียจคร้าน
๒. ต้องพิจารณาหาเหตุผลในการปฏิบัติงานของตนด้วยความสะอาดและประณีต ไม่ประมาทและไม่มักง่าย
๓. ต้องมีความซื่อสัตย์สุจริตมีเมตตาจิตแก่ผู้ใช้ยา ไม่โลภเห็นแก่ลาภโดยหวังกำไรเกินควร
๔. ต้องละอายต่อบาป ไม่กล่าวมดเท็จโอ้อวด ให้ผู้อื่นหลงเชื่อในความรู้ความสามารถอันเหลวไหลของตนเอ
๕. ต้องปรึกษาผู้ชำนาญ เมื่อเกิดความสงสัยในตัวยาใดหรือวิธีใช้ วิธีปรุงยา โดยไม่ปิดบังความเขลาของตนเองหลักการศึกษาวิชาแพทย์แผนโบราณสาขาเภสัชกรรม
๑. หลักเภสัชวัตถุ มุ่งหมายให้รู้จักตัวยาจากวัตถุธาตุนาๆชนิดที่นิยมนำมาใช้เป็นยารักษาโรคและแก้ไข้
๒. หลักสรรพคุณเภสัชมุ่งหมายให้รู้จักสรรพคุณและวิธีใช้ของตัวยาที่นำมาใช้เป็นตัวยารักษาโรคและแก้ไข้ ๓. หลักคณาเภสัช มุ่งหมายให้มีความรู้เรื่องหมวดหมู่ของตัวยาซึ่งรวมเรียกชื่อเป็นพิกัดยา ๔. หลักเภสัชกรรม มุ่งหมายให้ผู้ศึกษาได้มีความรู้ความชำนาญในหลักการปรุงยาตามแบบแผนโบราณให้ได้ผลดี
หลักเภสัชวัตถุ
ว่าด้วยการรู้จักตัวยา
เภสัชวัตถุคือวัตถุธาตุนาๆชนิดที่นำมาใช้เป็นยารักษาโรคและแก้ไข้ แบ่งออกเป็น ๓ประเภทคือ
๑ . ประเภทพืชวัตถุ
๒. ประเภทสัตว์วัตถุ
๓. ประเภทธาตุวัตถุ
ประเภทพืชวัตถุ
ได้แก่พืชพันธุ์ไม้ประเภทต่างๆ ทุกชนิดที่จะนำมาใช้ทำยา ต้องศึกษาว่าจะใช้ส่วนไหนบ้างทำยาได้แก่ ลำต้น กิ่งก้านแก่น ใบ ราก เปลือก กระพี้ดอก เกสรหรือใช้ทั้ง ๕ ทำยา และให้รู้จักว่าส่วนต่างๆ ของพืชนั้นมีรูป สีกลิ่น รส และชื่อ เป็นอย่างไร
พืชวัตถุแบ่งออกเป็น๕ จำพวกคือ
๑.จำพวกต้น
๒.จำพวกเถา เครือ
๓.จำพวกหัว เหง้า
๔. จำพวกผัก
๕. จำพวกหญ้าประเภทสัตว์วัตถุ
๑. สัตว์บกคือสัตว์ที่เกิดและอาศัยหากินอยู่บนบก
๒. สัตว์น้ำคือสัตว์ที่เกิดและอาศัยอยู่ในน้ำ
๓. สัตว์อากาศ คือสัตว์ที่เกิดและอาศัยหากินอยู่ในอากาศ
สัตว์วัตถุทั้ง ๓ ชนิดนี้ การใช้ทำยาบางครั้งใช้ส่วนและอวัยวะของสัตว์ บางครั้งใช้ทั้งตัวทำยา ต้องรู้จักอวัยวะต่างๆของสัตว์นั้นๆเช่น ขน หนัง เขี้ยว งา ฟัน กรามหาง หัว เลือด เนื้อ เอ็นกระดูก ดีกระเพาะ ตับ และน้ำมันเป็นต้น ต้องรู้ว่าส่วนนั้นมีรูปร่างลักษณะ สี กลิ่น รส และชื่อเป็นอย่างไร
ประเภทธาตุวัตถุ
๑. จำพวกธาตุวัตถุที่สลายตัวยาก
๒. จำพวกธาตุวัตถุที่สลายตัวง่ายหรือสลายตัวอยู่แล้ว
ธาตุวัตถุทั้ง ๒จำพวกนี้เกิดขึ้นตารมธรรมชาติอย่างหนึ่งและเกิดจากการประกอบขึ้นจากแร่ธาตุต่างๆตามกรรมวิธีที่จะนำมาใช้ทำตัวยา
รู้จักตัวยาโดยใช้หลัก ๕ ประการ
นอกจากหลักเบื้องต้นของวัตถุธาตุทั้งสามแล้ว ผู้ปรุงยาจะต้องอาศัยหลัก ๕ ประการ มาเป็นข้อพิสูจน์เพื่อให้เกิดความลึกซึ้งในลักษณะของสิ่งนั้นๆคือ
๑.รูป หมายถึงรูปลักษณะของวัตถุที่นำมาปรุงยาเป็นอย่างไรเช่น พืชวัตถุ ได้แก่ รูปของดอก ใบไม้ เปลือกไม้แก่นไม้ เนื้อไม้ กระพี้ไม้ รากไม้ เป็นต้น สัตว์วัตถุเช่น ขนสัตว์ หนังสัตว์ เขาสัตว์งาช้าง เล็บสัตว์ เป็นต้นธาตุวัตถุเช่น ธาตุเงิน ธาตุทองเกลือเป็นต้น
๒.สี หมายถึงเราต้องรู้จักสีของวัตถุที่นำมาปรุงยาเช่น รู้ว่าสิ่งนั้นขาว สิ่งนั้นสีแดง ใบไม้สดมีสีเขียว
๓ กลิ่น หมายถึง ให้รู้ว่ากลิ่นของสิ่งที่เรานำมาปรุงยามีกลิ่นอย่างไร เช่น กลิ่นนี้เหม็น กลิ่นนี้หอม
๔.รส หมายถึงให้รู้จักรสต่างๆของวัตถุต่างๆที่นำมาปรุงยา เช่นรสฝาด หวานขม เผ็ด รสมันรสเค็ม อาทิ เมล็ดพริกไทย
รสเผ็ดร้อน รากหญ้าคารสจืด เกลือรสเค็มเป็นต้น
๕. ชื่อ หมายถึงให้รู้จักชื่อของวัตถุที่นำมาปรุงยาเช่น ขิง ข่า ไพล กระดูกกา งาช้าง เขากระทิง เกลือ ทองเหลือง ทองแดง เป็นต้น